E-Banking (วิชา ITM 640)



E-Banking (Electronic Banking)



E-Banking เรียกได้หลายอย่าง เช่น
  · Internet Banking
  · Cyber Banking
  · Online Banking เป็นต้น

ความหมายของ E-Banking
  หมายถึง การทำธุรกรรมแบบอัตโนมัติ โดยรวมทั้งสินค้าและบริการที่ธนาคารมีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งที่จะเกิดขึ้นใหม่ด้วย โดยการส่งมอบแก่ลูกค้าผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ และช่องทางการสื่อสารในรูปแบบที่สามารถโต้ตอบได้
  E-Banking ได้รวมถึงระบบต่างๆ ที่ทำให้ลูกค้าของธนาคารทุกระดับสามารถเข้าถึงบัญชี เพื่อการทำธุรกรรมต่างๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายสาธารณะหรือระบบเครือข่ายเอกชน ซึ่งรวมถึงระบบ Internet ด้วย โดยลูกค้าสามารถใช้บริการโดยผ่านเครื่องอิเล็คทรอนิกส์อัจฉริยะ ได้แก่ PC, PDA, ATM, Touch Tone Telephone และ Kiosk เป็นต้น

ทำไมต้อง E-Banking
  เป็นที่ทราบกันดีว่าธุรกิจของธนาคาร สินค้าบริการ ก็คือ Information ดังนั้น การบริหารจัดการ Information ที่ดี ความสามารถในการแข่งขัน จึงไม่ใช่เป็นเรื่องของ Back office efficiency แต่เพียงอย่างเดียว เมื่อ Infrastructure ทางด้าน Computer, Mass Storage Devices, Telecommunication มีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ จึงทำให้ IT เป็น Key Driver ที่สำคัญที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์และรูปแบบของธุรกิจการธนาคาร การวิเคราะห์ Cost – Benefit และความเสี่ยงในการนำ IT และรูปแบบธุรกิจมาใช้เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เหตุผลหลักที่ธนาคารมีการปรับตัวเพื่อเป็น E-Banking ทางกลุ่มได้ระดมสมองวิเคราะห์จุดดีที่จะเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจธนาคาร ดังนี้
  · ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำลง
  · ขยายครอบคลุมฐานลูกค้าได้กว้างขวางขึ้นในด้านภูมิศาสตร์
  · ทำให้รักษาความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงธุรกิจ
  · ทำให้มีโอกาสได้ลูกค้ามากขึ้น
  · ทำให้มีโอกาสในการหารายได้ในรูปแบบบริการใหม่ๆ จากลูกค้า
  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ Change Management เป็นเรื่องที่สำคัญทางกลุ่มได้ระดมสมองปัจจัยที่ธนาคาร ควรพิจารณาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบริการ ดังนี้
  · นโยบายในการบริหารงานรวมถึงขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
  · ผลกระทบทางด้านกฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลง
  · ระบบเครือข่ายในด้านต่างๆ ได้แก่ Networking Architecture, Security Expertise, Software
  · จำนวนบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน MIS
  · การวิเคราะห์เงินลงทุนกับผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจ (ROI)

รูปแบบการใช้บริการ E-Banking ในปัจจุบัน มี 4 รูปแบบดังนี้
1. Internet Banking มีลักษณะการให้บริการ ดังนี้
  1.1. สอบถามยอดคงเหลือหรือรายการเคลื่อนไหวในบัญชี (Account Balance or Statement Inquiry)โอนเงินระหว่างบัญชีตนเองไปยังบัญชีของบุคคลอื่นทั้งในและต่างประเทศ (Inter-Account Funds Transfer to owner or other account)
  1.2. สอบถามสถานะเช็ค (Stop-Payment Cheque Inquiry)
  1.3. อายัดเช็ค (Stop-Payment of Cheque)
  1.4. การชำระเงินกู้ธนาคาร
  1.5. สินเชื่อส่วนบุคคล
  · Internet Banking System - Environmental Impact Assessment Model
  ด้วยระบบนี้ผู้ใช้ที่เป็นเอกชนและองค์กรสามารถซักถามเกี่ยวกับ บัญชีธนาคาร หรือโอนเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ



2. Payment Gateway or Bill Payment
  Payment Gateway เป็นโปรแกรมหลักที่มีความสามารถ ในการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตบนWebsite กับ Credit Card Processor ผู้ดำเนินการเกี่ยวกับระบบบัตรเครดิต Payment Gateway คล้ายกับเครื่องชำระเงินอัตโนมัติที่มีอยู่ทั่วไปบนห้างสรรพสินค้าต่างๆ Payment Gateway สามารถเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ เช่น รหัสบัตรเครดิต, จำนวนเงิน, ชื่อ-นามสกุล แล้วส่งข้อมูลไปยัง Credit Card Processor ผู้ซึ่งประมวลผลการชำระเงินแล้วส่งต่อให้ Visa/MasterCard Network ผลของรายการต่างๆจะส่งกลับจากธนาคารไปถึง Credit Card Processor ผู้ซึ่งส่งกลับผลการชำระเงินที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยไปยัง Payment Gateway
  Payment Gateway มีอำนาจเหมือนเป็นสื่อกลางระหว่าง Website กับ Credit Card Processor โดยส่วนใหญ่ผู้ให้บริการจะใช้ Payment Gateway ของ Authorize.net Payment Gateway ซึ่งเป็นที่นิยม เพราะใช้งานง่ายและมีการรวมระบบของการ Shopping Cart
Payment Gateway เป็นระบบที่ลูกค้าสามารถชำระค่าบริการได้ 24 ชม. โดยไม่ต้องเดินทาง หรือบางธนาคารระบบตั้งเวลาชำระเงินแบบอัตโนมัติเพื่อให้ลูกค้าตั้งเวลาชำระเงินไว้ล่วงหน้าสำหรับตัดเงินในบัญชี

ไดอะแกรมแสดงการทำงานของ Authorize.net Payment Gateway

3. Mobile Banking
  ซึ่งจะคล้ายกับ Internet Banking เพียงแต่จะเน้นกลุ่มลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นหลัก โดยใช้ระบบ WAP (Wireless Access Protocol)



  · SMS Banking
  เมื่อลูกค้าอยู่ในช่วงเวลาที่เร่งรีบ ซึ่งต้องการรับบริการที่สำคัญๆ กับธนาคารในทุกที่ทุกเวลา ทางธนาคารจึงต้องเตรียมบริการใหม่ๆ เพื่อให้ข้อมูลข่าวไปยังโทรศัพท์มือถือของลูกค้า ด้วยบริการ SMS Banking ซึ่งมีบริการต่างๆดังนี้
  - ยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝาก
  - ขอรับสมุดเช็ค
  - สอบถามยอดเคลื่อนไหวบัญชีเงินฝาก
  - ข้อมูลการชำระค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ
  ลูกค้าจะสมัครขอใช้บริการโดยส่ง SMS ไปยัง bulk service provider’s number หลังจากนั้น Service Provider จะส่งต่อ SMS นั้นไปยัง bank’s mobile banking applications แล้ว mobile banking applications จะทำการติดต่อกับ core banking servers (รวม user account information ด้วย) บริการนี้เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าต้องการ ผลดังกล่าวจะทำการส่งโดย mobile banking applications ไปยัง the bulk service provider ซึ่งเป็นผู้บริการที่ทำการส่ง SMS ไปยังลูกค้าที่ทำการใช้บริการนี้ได้อย่างถูกต้อง
มีสองวิธีที่ธนาคารสามารถสื่อสารกับลูกค้าโดยใช้ทาง SMS ดังนี้
  1. วิธีการแรก bank proactively จะทำการส่งข้อมูลที่แน่นอน น่าเชื่อถือ ให้ลูกค้า มีข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลการโอนเงิน, ข้อมูลเกี่ยวกับเครดิตเงินเดือน, ข้อมูลอื่นๆ เป็นต้น โดยมีวิธีการส่งได้ 2 วิธีดังนี้
   1.1. E-mail to mobile (E2M) : ธนาคารจะทำการส่ง email ที่ระบุที่อยู่ที่ชัดเจนไปยัง mobile banking application โดย email นี้อาจรวมเบอร์โทรศัพท์ของลูกค้าไปด้วย mobile banking application จะส่งข้อความในรูปแบบที่เฉพาะ เช่น รูปแบบไฟล์ XML, HTML เป็นต้น ไปยัง service provider’s application server แล้วทำการตัดถอนข้อความบางส่วนจากไฟล์รูปแบบ XML ออกและส่งในรูปแบบ SMS ไปยังwireless carrier หลังจากนั้น wireless carrier จะทำการส่งข้อความนั้นต่อไปยังลูกค้า
   1.2. Database to mobile (D2M) : โดยใช้ mobile banking application การทำงานของ mobile banking application จะทำการสำรวจ banks database server เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การโอนเงินระหว่างบัญชี เป็นต้น ก็จะส่งข้อความไปยัง service provider’s application server โดยรูปแบบของไฟล์ที่ส่งอาจจะคล้ายคลึงกับ E2M จากนั้นก็จะส่งข้อความต่อไปยัง wireless carrier เพื่อส่งข้อความดังกล่าวให้กับลูกค้าต่อไป
  2. วิธีที่สอง ธนาคารก็จะส่งข้อมูล เช่น ยอดเงินคงเหลือในบัญชี เป็นต้น ไปยังลูกค้า โดยอันดับแรกลูกค้าก็จะส่งรหัสที่ทำการร้องขอ เพื่อขอใช้บริการนั้นโดยใช้ SMS ไปยัง Bulk SMS service Provider โดยทำการลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์ หลังจากนั้นจะส่ง SMS ดังกล่าวไปยัง PULL application ที่อยู่ใน mobile banking server หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลต่อไปยัง core banking application ซึ่งอยู่ใน core banking server เพื่อทำการประมวลผลต่อไป เมื่อ core banking server ประมวลผลแล้วก็จะส่งข้อมูลกลับไปให้ PULL application แล้ว PULL application ก็จะส่งข้อมูลในรูปแบบที่อาจคล้ายกับ E2M ไปยัง service provider เพื่อส่ง SMS ให้กลับลูกค้าต่อไป

4. ให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น เช่น
  · บริการเอทีเอ็ม (ATM)
  · บริการสมาร์ทการ์ด (Smart Card)
  · บริการธนาคารทางโทรศัพท์ (Tele-Banking)



ซอฟต์แวร์ E-Banking อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  · ซอฟต์แวร์สำหรับธนาคาร อาทิ
   o ซอฟต์แวร์มาโครแบงค์โฟร์ (Macrobank 4)
   Macrobank technology เป็นนวัตกรรมใหม่ และเป็นโปรแกรมที่น่าเชื่อถือทางด้านการเงินPlatform ถูกออกแบบมาเพื่อสร้าง bespoke solutions สำหรับธนาคาร โปรแกรมนี้มี Function หลายอย่าง เช่น ระบบบัญชี, ระบบจัดการข้อมูลลูกค้า, การจัดการผลิตภัณฑ์, การประมวลผลรายการต่างๆ, ระบบรายงาน และด้านอื่นๆของธนาคารที่เกี่ยวกับการเงิน
ซอฟต์แวร์มาโครแบงค์โฟร์ (Macrobank 4)
   o ซอฟต์แวร์นิวทัน (Newton)
   เป็นโปรแกรมที่มีความโดดเด่น โดยสามารถประมวลรายการที่มีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากได้ ในปัจจุบันโปรแกรมนี้สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการ Red Hat Linux ได้ ซึ่งช่วยลดต้นทุนของเจ้าของกิจการได้ The core banking solution มีการเตรียมการให้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการ สามารถกำหนดค่าในการทำงานให้เป็นทั้งศูนย์กลาง หรือแบบตามสภาพแวดล้อมได้ NEWTON ได้นำ core banking solution มาเพื่อดำเนินการพัฒนาสินค้าที่มีความยืดหยุ่นตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้ Module ที่เป็นสากลโดยรวมคำสั่งในการประมวลผลและส่วนประกอบทั่วๆไปที่บนระบบ ทุกส่วนประกอบใน core banking solution สามารถกำหนด Parameters เฉพาะได้ ทำให้สามารถใช้พัฒนาสินค้าใหม่ๆได้อย่างง่ายดาย

ซอฟต์แวร์นิวทัน (Newton)

  · ซอฟต์แวร์สำหรับลูกค้าธนาคาร อาทิ
   o ซอฟต์แวร์จัดการด้านการเงิน (Money Organizer Deluxe)
   เป็นโปรแกรมที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows มีความสามารถหลายอย่าง เช่น ระบบบัญชีธนาคาร, ระบบข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน, ระบบออนไลน์ส่วนบุคคล, เป็นต้น. สำหรับผู้ที่เริ่มต้นใช้งานก็มีรูปแบบและ templates ที่ใช้งานและกำหนดค่าต่างๆได้ง่าย เช่น
   - Account Organizer : organize checking, saving accounts.
   - Portfolio Organizer : organize your investment records.
   - My Web Organizer : organize your private online accounts.
   - Web Resources Organizer : organize online finance resources.

ซอฟต์แวร์จัดการด้านการเงิน (Money Organizer Deluxe)

   o ซอฟต์แวร์การเงินส่วนบุคคล (AceMoney)
   เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการบริหารจัดการ เกี่ยวกับการเงินได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว สามารถรองรับทุกความต้องการสำหรับใช้งานที่บ้านหรือที่สำนักงาน โดยมีลักษณะเด่นต่างๆดังนี้
   - ระบบจัดการบัญชีธนาคารต่างๆ เช่น ตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร, ตรวจสอบบัญชีเกี่ยวบัตรเครดิต, ตรวจสอบเงินกู้ เป็นต้น หรือสามารถสร้างบัญชีเงินฝากรูปแบบใหม่ๆได้
   - ระบบบริหารจัดการงบประมาณ โดยระบบนี้สามารถแบ่งงบประมาณได้มากกว่า 100 งบประมาณ และสามารถจำกัดงบประมาณของแต่ละอย่างได้
   - ระบบเงินลงทุน เช่น การซื้อขายหุ้นต่างๆ, วางแผนการลงทุน เป็นต้น
   - ระบบบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยน สามารถรองรับอัตราแลกเปลี่ยนได้มากกว่า 150 อัตรา และสามารถดาวน์โหลดอัตราแลกเปลี่ยนจากอินเตอร์เน็ตแบบอัตโนมัติได้อีกด้วย
   - ระบบติดตามรายได้-ค่าใช้จ่าย สามารถแสดงรายงานเป็นแผนภูมิ หรือค้นหารายรับ-รายจ่ายต่างๆได้
   - ระบบธนาคารออนไลน์ สามารถดาวน์โหลดข้อมูล และนำเข้าจากธนาคารแบบออนไลน์ในรูปแบบ QIF และ OFX หากคุณต้องการใช้ในธุรกิจขนาดเล็กสามารถส่งออกเป็นไฟล์รูปแบบ HTML, ข้อความ, CSV เพื่อสร้างงบหรือดำเนินการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนทางสถิติได้
   - ระบบตรวจสอบวันครบกำหนดชำระเงิน AceMoney สามารถเตือนผู้ใช้เมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนดชำระเงินได้
   - ระบบรักษาความปลอดภัยในทุกๆไฟล์, มีตารางการสำรองข้อมูล, มี Features อื่นๆอีกมากมาย สำหรับผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ทางด้านบัญชี
   - ระบบวางแผนการชำระหนี้ AceMoney สามารถคำนวณสินเชื่อต่างๆ เพื่อวางแผนการชำระหนี้และการชำระเงินแบบมืออาชีพ สามารถประมาณการจ่ายชำระเงินในอนาคต หากผู้ใช้วางแผนที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์
   - ระบบที่รองรับการขายหรือทำธุรกิจแบบอิเลคทรอนิกส์ AceMoney สามารถรับ Order แบบอัตโนมัติจาก PayPal, RegNow, RegSoft, SWReg and Plimus ได้
   - AceMoney สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Windows, Linux, Mac

AceMoney

  o ซอฟต์แวร์การตรวจงบประมาณ (Check2Check Budget)
   เป็นโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบงบประมาณ, สรุปยอดเงิน, ยอดคงเหลือ สามารถแสดงผลเป็นกราฟหรือตาราง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถบริหารจัดการได้ง่าย รายการต่างๆที่เกิดขึ้นสำหรับเดือนใดๆก็สามารถวางแผนไว้ได้ในอนาคตและแสดงแผนงานของคุณ มีการควบคุมเกี่ยวกับบัตรเครดิต โดยสามารถแสดงยอดเงินคงเหลือ, ค่าธรรมเนียม, การจ่ายชำระเงิน, ดอกเบี้ย, และสรุปผลประจำปี เพื่อแสดงภาระหนี้สินทั้งหมด มี Drop down list ให้เลือกดูข้อมูลในกราฟแท่ง เมื่อทำการเลือกข้อมูลแล้วโปรแกรม ก็จะทำการกรองและหาข้อมูลตามที่ระบุอย่างง่าย โดยจะทำการสรุปข้อมูลทำให้คุณสามารถCopy ข้อมูลไปใช้ในเดือนต่อๆไปได้ สามารถรองรับได้มากกว่า 200 transactions ต่อเดือน และมากกว่า 20 บัตรเครดิต

ซอฟต์แวร์การตรวจงบประมาณ (Check2Check Budget)

ข้อดีของการใช้ E-Banking มีดังนี้
  · ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ
  · ความรวดเร็วในการให้บริการ
  · ให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้า
  · เป็นการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ
  · มีบริการเสริมต่างๆ มากมาย

ปัญหาที่พบในปัจจุบันของ E-Banking
  · ความปลอดภัย
  · ลูกค้าไม่เข้าใจระบบ
  · การแพร่หลายของอินเตอร์เน็ตยังมีน้อย
  · ขั้นตอนการสมัครยังยุ่งยากและใช้เวลานาน
  · ลูกค้ายังไม่คุ้นกับการใช้เทคโนโลยีในการใช้บริการ

แนวโน้มของ E-Banking ในอนาคต
  จำนวนผู้ใช้บริการ E-Banking จะมีมากขึ้น เนื่องจาก
   · ความรวดเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีมากขึ้น
   · ลูกค้ารู้สึกมีความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น

เทคโนโลยีของ E-Banking
  ตัวอย่างเทคโนโลยี E-Banking ของ TFB เช่น
   · CORPORATE CONNECT เป็นการพัฒนารูปแบบการให้บริการลูกค้าระดับองค์กรธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย โดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยลูกค้าของธนาคารสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัท ตรงเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคารกสิกรไทยที่ได้มีการสร้างหน้าจอแสดงถึงบริการต่างๆ ที่ลูกค้าต้องการจะทำ ธุรกรรมที่ลูกค้าของธนาคารกสิกรไทย สามารถกระทำได้โดยผ่านบริการ CORPORATE CONNECT จะประกอบด้วย
     - การจัดการด้านการเงิน (Cash Connect) คือ ธุรกรรมการโอนเงิน โดยการโอนเงินระหว่างบัญชี จะมีวงเงินโอนได้สูงสุดครั้งละ 10 ล้านบาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง การโอนเงินให้บุคคลอื่นที่มีบัญชีกับธนาคารกสิกรไทย สามารถโอนได้ครั้งละ 3 ล้านบาท และไม่จำกัดจำนวนครั้งเช่นกัน และการโอนเงินให้บุคคลอื่นที่มีบัญชีต่างธนาคาร สามารถโอนได้โดยไม่ต้องผูกบัญชีที่จะโอนเงินล่วงหน้า นอกจากนี้ บริษัทที่ใช้บริการ CORPORATE CONNECT ยังสามารถดูรายการการชำระเงินของลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ เช่นเคาน์เตอร์สาขาธนาคาร เครื่องเอทีเอ็ม ธนาคารทางโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ตลอดจนการสอบถามข้อมูลทางบัญชี รายงานด้านการเงิน และสอบถามข้อมูลบัญชีออมทรัพย์ และกระแสรายวันได้ย้อนหลัง 6 เดือน
     - ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (Trade Connect) คือ การเปิด L/C บิลเรียกเก็บสินค้าเข้า/ออก การโอนเงินต่างประเทศ สินเชื่อสินค้าเข้า/ออก รวมทั้งการเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ตลอดจนการติดตามสถานะของตั๋วเงิน และการติดต่อกับคู่ค้าต่างประเทศ
     - การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และการบริหารความเสี่ยง (F/X Connect) คือการซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยระบบออนไลน์ ที่มีความปลอดภัย รวดเร็ว และมีมาตรฐาน ทั้งในรูปแบบของการซื้อขายทันที (Spot Transaction) และการซื้อขายล่วงหน้า (Forward Transaction)
     - TFB E - Banking Center ประกอบด้วยบริการอัตโนมัติกว่า 10 รูปแบบ ที่ลูกค้าสามารถทำรายการต่างๆ กับธนาคารได้ด้วยตัวเอง ผ่านเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้แก่ TFB E-ATM เป็นเครื่องเอทีเอ็มที่ให้บริการได้มากกว่าการถอนเงิน คือ ลูกค้าสามารถโอนเงิน ชำระเงินซื้อประกันอุบัติเหตุ หรือบริจาคเงิน เพื่อการกุศลได้ด้วยตัวเอง
     - TFB E-Phone Banking เป็นบริการระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ เพื่อทำรายการทางธนาคาร หรือสอบถามข้อมูลบริการร่วมกับการให้บริการของศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่ หมายเลขโทรศัพท์ (02) 1571
     - TFB E-Info Service เป็นบริการส่งข้อมูลเกี่ยวกับบริการของธนาคารให้แก่ลูกค้าผ่านทางเพจเจอร์ และมือถือระบบดิจิตอล ตามวันเวลาที่ลูกค้าระบุ อาทิ ยอดเงินคงเหลือในบัญชี ยอดเช็คคืน หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
     - TFB E-Mobile Banking เป็นบริการธนาคารทางโทรศัพท์อัตโนมัติผ่านระบบ Short Message Service (SMS) ของโทรศัพท์มือถือระบบดิจิตอล
     - TFB E-Saving Account เป็นบริการเงินฝากออมทรัพย์ที่ไม่จำเป็นต้องพกพาสมุดบัญชี โดยลูกค้าสามารถพิมพ์เอกสารรายการเดินบัญชี (Statement) ที่เครื่อง TFB E-ATM ได้
     - TFE E-Cash Card เป็นบัตรเดบิตในประเทศของธนาคารที่สามารถเลือกรูปภาพบนบัตรได้ด้วย ตนเอง โดยสามารถใช้ชำระค่าสินค้า และบริการที่ร้านค้าในประเทศไทยได้โดยการลงลายมือชื่อ และใช้เป็นบัตรเอทีเอ็มได้
     - TFB E-Commerce Ser-vice เป็นบริการเรียกเก็บเงินจากบัตรเครดิตสำหรับร้านค้าที่ขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต และเครื่องปรับสมุดเงินฝากอัตโนมัติ

· E-Wallets (Electronic Wallets)



  ในอนาคต E-Wallets จะเป็นที่สนใจแก่คนทั่วไปมากขึ้นเพราะมีความเป็นส่วนตัว, สะดวกสบาย และรวดเร็ว โดยมีบริการต่างๆ ดังนี้
     - Online shopping ด้วยโทรศัพท์มือถือ
       E-wallet สามารถอำนวยความสะดวกในการใช้ซื้อสินค้าทางโทรศัพท์มือถือและ PDA
     - เปรียบเทียบราคาสินค้าหรือบริการ
       E-Wallets สามารถเปรียบราคาสินค้าหรือบริการได้ทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต เพื่อไว้ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการแบบออนไลน์และออฟไลน์ การให้บริการแบบนี้จะมีความโปร่งใสอยู่ในการควบคุมของผู้บริโภค
     - Bill Payments
       E-Wallets สามารถทำการชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงินที่เรียกเก็บเงินในนามของผู้ใช้ บริการนี้รวมถึงแสดงตารางกำหนดเวลาการชำระเงินของใบแจ้งหนี้และรับใบเรียกเก็บเงินแล้วแสดงเป็นรายงานได้
     - การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
       E-Wallets สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในจุดเดียว เช่น ข้อมูลการรักษาพยาบาลการประกัน, รถยนต์, จำนอง, การเกษียณอายุ, รายงานการลงทุน. ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บเพื่อรอการประมวลผลและสรุปรวม ข้อมูลและทำการขยายการสรุปรวมนี้ไปทางการประมูลออนไลน์และเกมออนไลน์
     - Virtual Personal Organizer
       E-Wallets สามารถเก็บข้อมูลต่างๆได้ เช่น ปฏิทินของผู้ใช้, รายชื่อสำหรับติดต่อ, ตารางการทำงาน และรายชื่ออื่นๆในเครือข่าย โดยสามารถที่จะดึงข้อมูลมาเพื่อปรับปรุงได้
     - การจ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยระบบไร้สาย ณ จุดขาย
       E-Wallets จะอนุญาตให้ทำการชำระค่าสินค้าหรือบริการ ณ จุดขายได โดยอุปกรณ์นั้นต้องมีการติดตั้งระบบอินฟราเรด หรือ บลูทูธ อิเล็กทรอนิกส์กระเป๋าซอฟต์แวร์จะทำการดึงข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตของผู้ใช้จากเครือข่ายแล้วทำการส่งหมายเลขบัตรเครดิตจากอุปกรณ์ของผู้ใช้ทางอินฟราเรดหรือบลูทูธไปยัง ณ จุดขายเพื่อทำการชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการ
     - Pre-emptive Purchasing
       E-Wallets จะทำการประมวลผลการซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภคและจะบันทึกการซื้อรวมถึงรายละเอียดของการซื้อ เช่น เมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าช่วงต้นเดือนเป็นประจำ เมื่อถึงเวลาที่กำหนด
       E-Wallets ก็ทำการเตือนล่วงหน้าผู้บริโภคให้ทำการซื้อสินค้านั้น เป็นต้น
     - Device to device Person to Person Payments.
       E-Wallets สามารถทำการโอนการจ่ายชำระเงินจากของผู้ใช้หนึ่งไปยังอีกของผู้ใช้อีกคนหนึ่งได้ โดยต้องทำการติดตั้งระบบ E บนอุปกรณ์ทั้งสองเครื่อง
     - Customized for Internet Appliances
       E-Wallets สามารถติดต่อกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการเชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ตได้ เช่น เมื่อสินค้าบริโภคบางอย่างในตู้เย็นหมด ตู้เย็นก็จะทำการส่งข้อมูลเพื่อทำการซื้อสินค้านั้นไปยัง E-Wallets และให้ E-Wallets ทำการชำระเงิน หรือ ติดต่อกับเครื่องเล่นเกม เพื่อทำการซื้อเกมใหม่และทำการจ่ายชำระค่าเกมนั้น หรือ เชื่อมต่อกับ settop-box เพื่อชำระค่าเคเบิ้ลทีวี, ค่าใช้จานดาวเทียมดูทีวีได้ เป็นต้น

Security Trends e-Banking ของ Compass Security
  - ใช้ 128 bit SSL Encryption
  - มี Digital Server Certificate
  - ใช้ระบบ Threefold Security System: Username, Password and Strike List

· Security Measures


  - Attack Detection
  - การตรวจสอบการโจมตีจาก hijacking โดย
  - การใช้คำสั่งต่างๆต้องระบุค่า parameters
  - ต้องมี SSL Session เดียวกัน
  - การตรวจสอบการทำรายการ โดย
  - เก็บสถิติเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้
  - เปรียบเทียบการทำรายการต่างๆกับพฤติกรรมของผู้ใช้
  - บันทึกรายชื่อของผู้ใช้
  - จำกัดจำนวนการทำรายการ
  - Second Channel
  - ส่งการยืนยันการใช้ไปทางแชเนลอื่น เช่น
  - ส่งไปยังแอปพลิเคชันอื่นบนคอมพิวเตอร์
  - ส่งไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทาง SMS
  - Secured Channel
  - ป้อนข้อมูลโดยใช้อุปกรณ์ภายนอก โดย
  - อุปกรณ์ภายนอกไม่สามารถควบคุมได้โดย Trojan
  - อุปกรณ์ภายนอกนั้นมีรหัสผ่าน
  - Secure Platform
  - คอมพิวเตอร์ที่ใช้เฉพาะสำหรับ e-Banking โดย
  - รันโปรแกรมจากซีดีรอม, USB Stick
  - อุปกรณ์ที่จำลองให้เหมือนจริง
  - แล็ปท็อปสำหรับ e-Banking
  - Secure Environment
  - การเริ่มรันโปรแกรมโดยใช้ Brower ที่มีการป้องกันจาก Trojans เช่น
  - Downstripped Browser
  - โปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์
  - มีการตรวจสอบการล็อคอินเข้าใช้

· Current client security approaches:

o โปรแกรมที่ใช้รักษาความปลอดภัย
- รัน Browser บน USB stick
- โปรแกรมมีการรักษาความปลอดภัยสำหรับเครื่อง client
- ระบบปฏิบัติการเสมือนจริงบน host system
- รันโปรแกรมจาก CD-ROM หรือ USB stick

o Transaction Signing

- Transaction ต้องมีรายละเอียดและปลดล็อคได้จากโทรศัพท์มือถือ (SMS)
- อุปกรณ์ภายนอกต้องทำงานกับ SmartCard
- สามารถอ่านข้อมูลจากทางหน้าจอและทำการถอดรหัสบนอุปกรณ์ภายนอก



สรุป
การให้บริการแบบ E-Banking กำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังมีการให้บริการหลายรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้แบบหลากหลาย
การเข้าถึงระบบ E-Banking สามารถทำได้ทุกทีที่มีการเชื่อต่ออินเตอร์เน็ต โดยสามารถใช้บริการบนเครื่องคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ, PDA เป็นต้น
ในปัจจุบันยังมีการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ เช่น เครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชั่น เชื่อมต่อเพื่อสั่งซื้อเกมและชำระเงินแบบอัตโนมัติ
คาดว่าในอนาคตก็อาจมีบริการรูปแบบใหม่เกิดขึ้นอีกมากมายอย่างแน่นอน

เอกสารอ้างอิง
16. http://www.softsearch.com/ac4/product1.asp?Product_ID=313112